ปวดข้อ ปวดเข่า ข้อต่อกร๊อบแกร๊บ มองหา GAGs สารประกอบที่ดีกว่า กลูโคซามีน (Glucosamine)

อาการปวดข้อ ปวดเข่า ข้อต่อมีเสียงดังกร๊อบแกร๊บ ไม่ว่าจะนั่ง หรือเดินขึ้นบันไดก็ปวดล้า เจ็บที่ข้อเข่า เหล่านี้อาจนำไปสู่โรคข้อเสื่อม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ว่าจะวัยไหนก็ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก อาการปวดเข่าเหล่านี้มักเกิดจากสารในร่างกายไม่สมดุล และเมื่อพูดถึงสารที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อหรือข้อเข่า หลายๆ คนอาจนึกถึง กลูโคซามีน (Glucosamine) แต่จริงๆ แล้ว ยังมีสารที่สำคัญ และดีกว่า นั่นก็คือ ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs

อาการปวดข้อ ปวดเข่า ข้อเสื่อม เกิดจากอะไร

อาการปวดเข่าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับทั้ง น้ำหนักตัว กิจกรรมที่ทำ อายุ และอื่นๆ ก่อนจะไปดูสาเหตุของอาการปวดข้อ ลองมาทำความเข้าใจหน้าที่และองค์ประกอบของข้อต่อและข้อเข่ากันก่อน

ในร่างกายมนุษย์ ข้อเข่านับเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่รับน้ำหนักตัวมนุษย์  เข่าของมนุษย์ ประกอบด้วยกระดูกถึง 3 ชิ้น คือ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกลูกสะบ้า นอกจากนี้ยังมีกระดูกอ่อน และน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า ซึ่งมีหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างเอ็นและกระดูก อีกทั้งยังมีเส้นเอ็นรอบๆ ข้อเข่า ช่วยสร้างความมั่นคงของเข่าและหมอนรองกระดูก และรับแรงกระแทกบริเวณเข่า

knee_structure

จะเห็นว่าเข่ามีส่วนประกอบทั้งกระดูก น้ำหล่อเลี้ยง และเส้นเอ็น อาการปวดเข่าจึงมีโอกาสเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • เกิดการอักเสบจากเส้นเอ็น และลูกสะบ้าทำงานหนัก ที่เกิดจาก การเล่นกีฬาหนักเกินไป ล้มกระแทก เกิดการกระแทกแรงๆ บริเวณข้อเข่า หรือ
  • เกิดการอักเสบหรือสึกหรอ บริเวณกระดูกอ่อน ซึ่งเกิดจากการงอเข่า นั่งยอง เดินขึ้น-ลงบันได เป็นประจำ หรือกล้ามเนื้อโดยรวมบริเวณสะโพกและขาไม่แข็งแรงมากพอ ทำให้กระดูกหลุดร่อนออกมาขัดบริเวณข้อเข่า เป็นต้น
  • นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเจ็บที่ข้อเข่า และเป็นสาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็ คือ อาการข้อเสื่อม
ผู้ที่มีอาการข้อเสื่อม มักจะมีอาการเริ่มต้น ดังนี้

• ยืนนานๆ แล้วรู้สึกปวดข้อเข่า
• เดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง
• ข้อเข่ามีอาการฝืดขัด
• เหยียดขา งอขาได้ไม่สุด

เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากอาการ ข้อเข่าเสื่อม หากทิ้งไว้นาน จะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น ทานยาแก้ปวดแล้วไม่ทุเลา ไปจนถึงขั้น เข่ามีรูปร่างผิดปกติ โก่งโค้งเข้าด้านในหรือออกด้านนอก เดินล้มบ่อย สาเหตุจากเข่าหลวม ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก และใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสภาพนาน

ช่วงอายุ และการใช้ชีวิตแบบใด มักจะมีปัญหาเรื่องกระดูกข้อต่อ

knee_examine

อาการข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ ปวดเข่า มักพบในผู้ที่มีอายุมาก มีการตรวจพบว่า ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม และอายุ 65 ปี จะเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 50 แต่อาการปวดข้อ ปัญหาเรื่องกระดูกข้อต่อ ไม่ได้พบในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดได้กับทุกวัย

พฤติกรรมที่มักจะทำให้เกิดปัญหากับกระดูกข้อต่อ

- มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

ข้อเข่า มีหน้าที่หลักคือการรับน้ำหนักร่างกาย ดังนั้นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อเข่าต้องรองรับน้ำหนักมาก จึงเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนมีน้ำหนักตัวในเกณฑ์ปกติ 

- การทำกิจกรรมที่กระทบต่อข้อเข่า 

พฤติกรรม หรือ กิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่า เช่น ใส่ส้นสูงเป็นประจำ ออกกำลังกายโดยลงน้ำหนักไปที่เข่าเป็นประจำ ออกกำลังกายไม่ถูกต้อง นั่งหรือยืนนาน ๆ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ เป็นประจำ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ที่มีอายุมาก จะเห็นว่าเสี่ยงเป็น โรคข้อเสื่อม ได้มากกว่าคนหนุ่มสาว เพราะเกี่ยวข้องกับคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน เมื่ออายุมากขึ้นการสังเคราะห์คอลลาเจน และกลูโคซามีน (Glucosamine) ทำได้ลดลง ส่งผลให้เกิดการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เนื่องจากมีปริมาณของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) สึกกร่อนและหลุดออกมาอยู่ในน้ำไขข้อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นให้หลั่งสารกระตุ้นการอักเสบต่างๆ ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบขึ้น และความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง ส่งผลให้เกิดอาการปวดขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนักนั่นเอง

กลูโคซามีน (Glucosamine) คืออะไร

กลูโคซามีน (Glucosamine) เป็นสารประกอบของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง โปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) และไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อในร่างกาย รวมถึงกระดูกอ่อนและข้อ เรียกได้ว่า กลูโคซามีน (Glucosamine) เป็นสารที่มีอยู่ภายในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสารโปรตีโอไกลแคนที่พบได้มากในกระดูกอ่อน ทำให้กระดูกอ่อนมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ดี แต่ปัจจุบันได้มีวิจัยสนับสนุนว่ากลูโคซามีนไม่ช่วยเสริมการสังเคราะห์น้ำไขข้อ และไม่มีผลในการลดการอักเสบของข้อเข่า เนื่องจากมีการตรวจติดตามความเข้มข้นของ Hyaluronic Acid (HA) ในน้ำไขข้อ พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อให้ในปริมาณ 300-1,200 มิลลิกรัม/วัน นาน 3 เดือน การใช้กลูโคซามีนอย่างต่อเนื่องไม่เกิดประโยชน์ รวมถึงการฉีด HA เข้าในข้อโดยตรง ก็ไม่มีประสิทธิผลทางคลินิก และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์

ไกลโคสะมิโนไกลแคน หรือ GAGs คืออะไร

นอกจาก กลูโคซามีน (Glucosamine) จะเป็นตัวสร้าง โปรติโอไกลแคนที่สำคัญต่อกระดูกอ่อน ยังสร้าง ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีในร่างกายมนุษย์  เป็นอนุพันธ์โปรติโอไกลแคนธรรมชาติที่เชื่อมระหว่างโปรตีนในรูปกรดอะมิโนมากกว่า 100 ตัว จับกับคาร์โบไฮเดรตในสายโพลิแซคคาไรด์ จับกันด้วยพันธะโควาเลนต์

ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่จำเป็นต่อร่างกาย ประกอบด้วยสายยาวพอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่แตกแขนง ประเภทเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ โดยมีหน่วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ซ้ำๆ เรียงตัวกันหลายหน่วย หน่วยที่ซ้ำประกอบด้วยน้ำตาลเฮกโซส หรือน้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอม หรือกลุ่มน้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอมที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจน ไกลโคสะมิโนไกลแคนยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำหน้าที่สร้างกระดูก กระดูกอ่อน การสร้างเซลล์ประสาท ฟื้นฟูผิวหนังให้งอกใหม่ โดยกลุ่ม GAGs ที่ทำหน้าที่เหล่านี้ จะอยู่ในรูป กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) และคอนดรอยตินซัลเฟต (Chondroitin sulfate) GAGs ถูกพบในน้ำเลี้ยงข้อกระดูก เป็นสารที่ช่วยชะลอการเสื่อมของข้อต่อในร่างกายและลดการเสียดสีของกระดูก

ไกลโคสะมิโนไกลแคนหรือมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ (Mucopolysaccharide) แบ่งเป็น 6 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ คอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin sulfate), เคอราแทน ซัลเฟต (Keratan sulfate), เดอมาแทน ซัลเฟต (Dermatan sulfate), เฮพาริน (Heparin), เฮพาแรน ซัลเฟต (Heparan sulfate) และกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) ไกลโคสะมิโนไกลแคนในทางการแพทย์และทางสมบัติเชิงหน้าที่ จะมีความสามารถในการออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ โดยกลไกจะเกิดขึ้นระหว่างคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนในร่างกายเกิดจากพันธะไอออนิกและไฮโดรเจน และยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างชนิดของพันธะไกลโคซิดิก ความยาวของสายโซ่โพลิเมอร์ น้ำหนักโมเลกุล หมู่แทนที่ และการเปลี่ยนแปลง conformation ของน้ำตาล เนื่องจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีน จะมีส่วนสำคัญในทางชีววิทยาและสรีรวิทยาเช่น ฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์บางประเภท และต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น

ทำไม GAGs ถึงเป็นที่รู้จักน้อยกว่ากลูโคซามีน

กลูโคซามีนจัดเป็นสารตั้งต้นของไกลโคสะมิโนไกลแคน ซึ่งไกลโคสะมิโนไกลแคนเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันภายในร่างกาย เนื่องจากเป็นหน่วยที่เล็กกว่าจึงทำให้คนรู้จัก กลูโคซามีน มากกว่า ไกลโคสะมิโนไกลแคน อีกทั้งกลูโคซามีนยังจัดเป็นยา ในทางการแพทย์ใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับไขข้อและกระดูก ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง บำรุงข้อ เสริมผิวกระดูกอ่อน ป้องกันเข่าและข้อเสื่อม แต่ไกลโคสะมิโนไกลแคนจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่จำเป็นต่อร่างกาย ประกอบด้วยสายยาวพอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่แตกแขนง ประเภทเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ โดยมีหน่วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ซ้ำๆ เรียงตัวกันหลายหน่วย ซึ่งในวงการศึกษาและการวิจัยจะเป็นที่รู้จักในชื่อมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ (Mucopolysaccharide) ในเชิงอุตสาหกรรมอาหารใช้คุณสมบัติเชิงหน้าที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คุณสมบัติเชิงหน้าที่ต่างๆ เช่น ความสามารถในการละลายตัว ความสามารถในการเกิดอิมัลชันในระบบคอล ลอยด์บางชนิด ความสามารถในการหล่อลื่น และคุณค่าทางโภชนาการ

GAGs ดีกว่าอย่างไร

Gags_vs_Glucosamine

นอกจาก GAGs จะมีทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของการสร้างกระดูกอ่อนแล้ว GAGs ยังมีหน้าที่หลักในการสนับสนุนโปรตีนโครงสร้างที่สำคัญของร่างกาย อย่าง คอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับกระดูก โดยเฉพาะคอลลาเจน ชนิดที่ 2 (Collagen type 2) ซึ่งเป็นคอลลาเจนพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของแมทริกซ์ (matrix) มักพบในเซลล์กระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกสันหลัง

คอลลาเจนและไกลโคสะมิโนไกลแคน จะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมสภาวะสมดุลของเนื้อเยื่อ และคอลลาเจน ชนิดที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่ซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณที่มีการสึกหรอ ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นและทนต่อแรงกดได้ดี สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ ปัจจุบันมีการศึกษาประสิทธิภาพของคอลลาเจน ชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เปรียบเทียบกับการได้รับกลูโคซามีน โดยให้รับประทานคอลลาเจนวันละ 40 มิลลิกรัมต่อวันนาน 90 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับกลูโคซามีน วันละ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า คอลลาเจนชนิดที่ 2 ช่วยบรรเทาอาการปวด และการอักเสบของข้อ อาการปวดข้อเข่า ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีกว่ากลูโคซามีน

AOVA คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ ที่มี GAGs

เอโอว่า คอลลาเจนสกัดเย็นจากอยเป๋าฮื้อ เป็นเครื่องดื่มคอลลาเจนทางเลือกใหม่ บรรจุในขวดพร้อมดื่ม อร่อย ดื่มง่าย ไม่คาว ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า  หอยเป๋าฮื้อเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเป็นแหล่งของ ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs ทางธรรมชาติ ทดแทนสารสังเคราะห์ที่พบตามท้องตลาดได้ พร้อมทั้งยังมีวิตามินซีจากน้ำทับทิมเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ 

การันตีด้วยผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหลากหลายสถาบันชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ปีซ้อน

อ้างอิง: