เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความสามารถในการผลิตคอลลาเจนก็ลดลงตามไปด้วย เมื่อร่างกายขาดคอลลาเจน ผิวพรรณที่เคยตึงกระชับก็เริ่มหย่อนคล้อย เกิดริ้วรอย สัมผัสแห้งกร้าน รวมถึงมีอาการปวดข้อต่อ ข้อกระดูก การเสริมคอลลาเจน จึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจว่า ทำไมคอลลาเจนถึงสำคัญกับร่างกาย ช่วยในเรื่องอะไรบ้าง แล้วคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ คืออะไร ทำไมถึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
Collagen (คอลลาเจน) คืออะไร และ Collagen (คอลลาเจน) ช่วยอะไร
คอลลาเจน (collagen) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีการรวมตัวของกรดอะมิโน (amino acid) หลายชนิดต่อกัน เป็นสายโซ่โพลิเปปไทด์ (polypeptide) อย่างน้อย 46 สายเชื่อมกัน คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญทั่วทั้งร่างกาย ทั้งผิวหนัง กระดูก กระดูกอ่อน ข้อต่อ ขน เล็บ และเส้นผม รวมถึงเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เซลล์ยึดเกาะกัน ทำให้ร่างกายทุกส่วนทำงานปกติ
หากร่างกายมีปริมาณคอลลาเจนลดลง เซลล์ของร่างกายก็จะเรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย เช่น ขาดความกระชับ เกิดความหย่อนคล้อย ริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง เป็นต้น โดยปกติมนุษย์สามารถสังเคราะห์คอลลาเจนขึ้นมาได้เองตามธรรมชาติ แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการผลิตคอลลาเจนจะลดลง ถึงปีละ 1-1.5%
ประโยชน์ของคอลลาเจน ที่คนส่วนใหญ่รู้ และคนส่วนใหญ่ไม่รู้
เมื่อถามว่า Collagen (คอลลาเจน) ช่วยอะไร หลายๆ คนอาจนึกถึงประโยชน์ในด้านผิวพรรณ ความเต่งตึงกระจ่างใส แต่จริงๆ แล้ว คอลลาเจน มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด เนื่องจากคอลลาเจนที่พบในร่างกายมนุษย์ มีมากกว่า 29 ชนิด โดยคอลลาเจนที่พบมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ มี 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งเรื่องผิว กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เนื้อเยื่อ กระดูก และอีกมากมาย คอลลาเจนแต่ละแหล่งจะมีความแตกต่างกันไปตามโครงสร้างโมเลกุล องค์ประกอบของกรดอะมิโน โครงสร้างเปปไทด์ ปริมาณไกลโคสามิโนไกลแคน และพฤติกรรมทางความร้อน รู้หรือไม่ว่าคอลลาเจนมีการสังเคราะห์และสลายเอง ตามกลไกในร่างกาย ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการควบคุมที่แม่นยำ และความซับซ้อนทางชีวเคมี เพื่อให้เกิดการพัฒนาเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเนื้อเยื่อ ทำให้ผิวหนังคืนและคงสภาพแน่น เนียน เรียบ ตึง
Collagen (คอลลาเจน) ช่วยอะไร
ช่วยในเรื่อง ฝ้า กระ จุดด่างดำ
คอลลาเจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น
ช่วยในเรื่อง ริ้วรอย ความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น และลดความหยาบกร้านของผิว
ผิวหนังของเรามีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบมากถึง 75% จากการศึกษาพบว่า คอลลาเจนประเภทที่ 1 มีความเหนียวและแข็งแรงมากที่สุด เป็นเส้นใยโปรตีน ที่มีความสำคัญในเรื่องของเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น เรียบเนียน และยังช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด
จากการศึกษาเกี่ยวกับความชุ่มชื้นของผิว ในกลุ่มผู้หญิงช่วงวัย 35-55 ปี จำนวน 69 คน ให้รับประทานคอลลาเจน ปริมาณ 2.5 กรัมต่อวัน ไปเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการติดตาม พบว่า ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้น ซึ่งการรักษาความชุ่มชื้นของผิว จะแตกต่างกันไปตามสภาพผิว อายุ และแต่ละภูมิลำเนา ถ้าเป็นชาวเอเชีย (ญี่ปุ่น) อาจใช้ปริมาณคอลลาเจน 10 กรัมต่อวัน นาน 56 วัน หรือถ้าเป็นชาวยุโรป (ฝรั่งเศส) ใช้ 10 กรัมต่อวันเท่ากัน แต่เวลาในการรักษาหรือการเห็นผล อาจจะนานถึง 84 วัน เป็นต้น
ช่วยในเรื่องกระดูกอ่อน ข้อต่อ
ร่างกายมนุษย์มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบบริเวณกระดูกอ่อนถึง 50% ซึ่งคอลลาเจนประเภทที่ 2 เป็นคอลลาเจนที่พบมากในกระดูกอ่อน และข้อต่อ มีหน้าที่ลดอัตราการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ เสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกข้อต่อ ช่วยลดอาการบาดเจ็บ อาการปวดข้อ ข้อเสื่อม
จากการศึกษาของ เกี่ยวกับภาวะโรคข้อเสื่อม โดย University of Tuebingen ประเทศเยอรมนี พบว่า ประชากรที่มีภาวะข้อเสื่อมจํานวน 2,000 คน เมื่อได้รับ คอลลาเจน ในปริมาณ 5 กรัมต่อวัน ตลอดระยะเวลา 3 เดือน อาการอักเสบ และอาการเจ็บปวด จากการเคลื่อนไหวในบริเวณเซลล์กระดูกอ่อนของข้อต่างๆ ลดลง
ช่วยในเรื่อง สุขภาพหัวใจ
คอลลาเจนชนิดที่ 3 พบในผนังหลอดเลือด ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งแรงและทำงานได้เป็นปกติ หากร่างกายขาดคอลลาเจนหรือมีคอลลาเจนไม่เพียงพอ อาจทำให้หลอดเลือดแดงเปราะบาง เกิดการตีบตันของหลอดเลือด
ช่วยสมานแผล
คอลลาเจนสามารถช่วยรักษาบาดแผล สมานแผลที่ผิวหนัง สามารถลดการอักเสบและกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียไป และเพิ่มปริมาณเส้นใยคอลลาเจน
ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อประสาท
คอลลาเจนช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อประสาท ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความผิดปกติของเซลล์ประสาท ป้องกันการเสื่อมของระบบประสาท รวมถึงปรับปรุงศักยภาพการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณเซลล์ประสาท
เสริมคอลลาเจนให้ร่างกายได้อย่างไร
โดยปกติแล้ว ร่างกายของมนุษย์สามารถสร้างคอลลาเจนได้เอง แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น จะค่อยๆ สูญเสียคอลลาเจน เฉลี่ยปีละ 1-1.5% เราจึงควรเสริมคอลลาเจนให้ร่างกายด้วยการทานอาหารที่มีคอลลาเจน หรืออาหารที่ส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วเหลือง ปลาทะเล น้ำซุปเคี่ยวกระดูก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง ทับทิม กีวี เกร็ปฟรุต ผักใบเขียว ผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างผักและผลไม้ที่มีรงควัตถุสีต่างๆ ตามธรรมชาติ อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน เบต้าแคโรทีน เป็นต้น และอีกหนึ่งแหล่งคอลลาเจนที่กำลังเป็นที่นิยม คือ คอลลาเจนที่สกัดจากหอยเป๋าฮื้อ
ทำไมต้องคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ
หอยเป๋าฮื้อ (Abalone) เป็นสัตว์ตระกูลหอย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์มากมาย ทั้งอุดมไปด้วยวิตามิน ได้แก่ B1 B2 B6 และ B12 และแร่ธาตุ ได้แก่ สังกะสี ซีลีเนียม แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก สารอาหารเหล่านี้ล้วนแต่ที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงประสาทและสมอง ช่วยบำรุงกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น เส้นผม ขนและกล้ามเนื้อในร่างกาย อีกทั้งยังมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการกระตุ้นเซลล์หลายอย่าง เช่น ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ เป็นต้น
หอยเป๋าฮื้อ กระตุ้นการสร้างเซลล์ไฟโบรบลาสก์ที่ช่วยสร้างคอลลาเจน
Fibroblast Cell (เซลล์ไฟโบรบลาสท์) คือ เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างคอลลาเจน และมีบทบาทในการดูแลสุขภาพผิว และยังผลิตโปรตีนอีลาสตินทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น โดยเซลล์ไฟโบรบลาสท์จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว และฟื้นฟูโครงสร้างผิว ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ กระตุ้นตัวรับใต้ชั้นผิวให้เส้นใยโครงร่าง เกิดแรงตึงระหว่างน้ำภายในเซลล์กับเซลล์ไฟโบรบลาสท์ ทำให้ยกกระชับ เต่งตึง
ความพิเศษของหอยเป๋าฮื้อ คือมีการพบว่า มีคอลลาเจนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลัก เป็นไกลซีน (Glycine: Gly) โพรลีน (Proline: Pro) และไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline: Hyp) ซึ่งประกอบเป็นสารโพลิเปปไทด์ โดยมีหมู่ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่เชื่อมไปยังหมู่ฟังก์ชั่นอื่นๆ ในร่างกาย เมื่อนำคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ เข้าสู่ร่างกาย ผ่านกระบวนการและกลไกเมตาบอลิซึม ทำให้ดูดซึมไปยังเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอ โดยเฉพาะเซลล์ไฟโบรบลาสต์ ซึ่งจะฟื้นฟูให้คืนสภาพกลับมาเหมือนดั่งเดิม ผิวก็จะกลับมาเต่งตึง ยกกระชับ
หอยเป๋าฮื้อ คงสภาพโครงสร้างต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ดี
นอกจากนี้ยังมีการศึกษา ประสิทธิภาพของคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ มีผลต่อเซลล์ไฟโบรบลาสท์ โดยทดลองปริมาณคอลลาเจนของหอยเป๋าฮื้อ ก่อนและหลังจากถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร พบว่า คอลลาเจนยังหลงเหลือ โดยทดสอบปริมาณคอลลาเจนตามระบบทางเดินอาหารด้วยโครงสร้างที่เป็น native collagen และยังมีหมู่ฟังก์ชั่นทางชีวภาพในการกระตุ้นเซลล์ เมื่อผ่านการดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กแล้ว
จากผลการทดลอง ยังพบอีกว่า คอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อที่ผ่านการย่อยและกำลังเข้าสู่กลไกการดูดซึมบริเวณลำไส้เล็ก คอลลาเจนดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสท์ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า คอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อแม้ผ่านการย่อยแล้ว ยังคงประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของไฟโบรบลาสต์ และมีแนวโน้มความปลอดภัยที่จะนำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย
หอยเป๋าฮื้อ มี Glycosaminoglycans ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ในหอยเป๋าฮื้อ นอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุ มีคอลลาเจนหลากหลายชนิดที่ช่วยบำรุงผิว บำรุงกระดูกและข้อต่อ ช่วยกักเก็บน้ำหล่อเลี้ยงข้อ และยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของเซลล์ไฟโบรบลาสท์ รวมถึงยังมีสารสำคัญที่ไม่แพ้คอลลาเจนเลย นั่นคือ Glycosaminoglycans (ไกลโคสามิโนไกลแคน) หรือ GAGs เป็นอนุพันธ์โปรติโอไกลแคนธรรมชาติที่เชื่อมระหว่างโปรตีนในรูปกรดอะมิโนมากกว่า 100 ตัว จับกับคาร์โบไฮเดรตในสายโพลิแซคคาไรด์ จับกันด้วยพันธะโควาเลนต์ GAGs จัดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีในร่างกายมนุษย์
โดยคอลลาเจนและไกลโคสามิโนไกลแคน จะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมสภาวะสมดุลของเนื้อเยื่อ การเคลื่อนย้ายและการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ รักษาบาดแผลและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ปกติ ในร่างกาย GAGs จะถูกพบในน้ำเลี้ยงข้อกระดูก เส้นเอ็น ผิวหนัง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยชะลอการเสื่อมของข้อต่อในร่างกายและลดการเสียดสีของกระดูก รวมถึง GAGs ยังทำหน้าที่สร้างกระดูก กระดูกอ่อน การสร้างเซลล์ประสาท ฟื้นฟูผิวหนังให้งอกใหม่ โดยกลุ่ม GAGs ที่ทำหน้าที่เหล่านี้ จะอยู่ในรูปกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) และคอนดรอยตินซัลเฟต (Chondroitin sulfate)
มีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่า ในหอยเป๋าฮื้อสายพันธุ์ Haliotis diversicolor มีไกลโคสามิโนไกลแคน โดยเฉพาะในกลุ่มไฮยาลูโรนิกและคอนดรอยตินซัลเฟต จึงชี้ชัดได้ว่า หอยเป๋าฮื้อ เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเป็นแหล่งของ Glycosaminoglycans ทางธรรมชาติ ทดแทนสารสังเคราะห์ที่พบตามท้องตลาดได้
นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับสาร Glycosaminoglycans ในรูปแบบของ Chondroitin sulfate กับกลุ่มคนไข้ที่มีอาการเกี่ยวโรคเกี่ยวกับกระดูก/ข้อเข่า จำนวน 622 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ Chondroitin sulfate สามารถลดการสึกหรอของกระดูกอ่อน บริเวณข้อได้ดีกว่า ลดอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งหอยเป๋าฮื้อมีสารในกลุ่ม Glycosaminoglycans ประเภทกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) คอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin sulfate) และเฮพาริน (Heparin) สารกลุ่มนี้มีความสามารถในการช่วยเสริมเรื่องของกระดูก กระดูกอ่อน เส้นเอ็น ผม ขน เล็บ ข้อต่อ และข้อเข่าได้นั่นเอง
หาคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อได้จากที่ไหน
ปัจจุบันมีการสกัดคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ ในรูปแบบ คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ ในน้ำทับทิมผสมเปปไทด์ โดย AOVA (เอโอว่า) บรรจุในขวดพร้อมดื่ม ซึ่งใช้หอยเป๋าฮื้อจากฟาร์มในภูเก็ต เลี้ยงในระบบปิด ที่ได้มาตรฐานการรับรอง GAP จากกรมประมง โดยคอลลาเจนที่สกัดได้จากหอยเป๋าฮื้อมีถึง 14 ชนิด คอลลาเจนแต่ละชนิดมีคุณประโยชน์ต่างๆ เช่น คอลลาเจนชนิดที่1 (Type l) ช่วยบำรุงผิวพรรณ คอลลาเจนชนิดที่2 (Type ll) ช่วยบำรุงกระดูก ข้อ น้ำเลี้ยงข้อ คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Type III) ทำงานสอดประสานกับคอลลาเจนชนิดที่ 1 เข้าฟื้นฟูผิว ทำให้กระชับ เต่งตึง คอลลาเจนชนิดที่ 4 (Type IV) พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อและไขมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี เปปไทด์จากหอยเป๋าฮื้อ ที่มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมอง บำรุงร่างกาย ยับยั้งเซลล์เนื้องอก และเพิ่มประสิทธิภาพการต่อต้านเนื้องอกได้
ทำไมควรเลือกคอลลาเจนสกัดเย็น
โดยทั่วไป การสกัดคอลลาเจนในท้องตลาดมักจะใช้วิธีการสกัดร้อน ซึ่งจะส่งผลให้คอลลาเจนเปลี่ยนสภาพกลายเป็นคอลลาเจนไฮโดรไลเซทและเจลาติน เป็นเพียงสารอาหารโปรตีนให้กับร่างกายเท่านั้น
ในขณะที่ วิธีการสกัดเย็น จะส่งผลให้คอลลาเจนยังคงสภาวะกระตุ้นทางชีวภาพหรือ Bioactive คงคุณค่าของความเป็นโครงสร้างโมเลกุล มีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายยังคงประสิทธิภาพของคอลลาเจนมากกว่าคอลลาเจนทั่วไปถึง 250 เท่า
เอโอว่า คอลลาเจนสกัดเย็น บรรจุในขวดพร้อมดื่ม อร่อย ดื่มง่าย ไม่คาว เพราะใช้น้ำทับทิมเข้มข้น จากประเทศอิตาลี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีวิตามินซีจากน้ำทับทิมเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน
การันตีด้วยผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหลากหลายสถาบันชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ปีซ้อน
อ้างอิง
• Sasikarn Kongsompong, Teerasak E-kobon, Fahsai Kantawong, and Pramote Chumnanpuen The Effect of Abalone Embryo Digested Protein Fractions (AEDPFs) on the Viability of Murine Fibroblast Cell Line Pages: 82-87 https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/inter2017/G1-10.pdf
• นันทพร สมสังข์ การสกัดสาร Glycosaminoglycans จากหอยเป๋าฮื้อ http://rdo.psu.ac.th/th/images/D2/Abstracts/2553/204-53.pdf
• Shoulders MD, Raines RT. Collagen structure and stability. Annu Rev Biochem. 2009;78:929-58. doi: 10.1146/annurev.biochem.77.032207.120833. PMID: 19344236; PMCID: PMC2846778.
•Yung Kai Lin, Deng Cheng Liu, Comparison of physical–chemical properties of type I collagen from different species,Food Chemistry,Volume 99,Issue 2,2006,Pages 244-251,ISSN 0308-8146,https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2005.06.053.
• Reilly DM, Lozano J. Skin collagen through the lifestages: importance for skin health and beauty. Plast Aesthet Res 2021;8:2. http://dx.doi.org/10.20517/2347-9264.2020.153
• Oral collagen supplementation for skin aging: A fad or the future? J Cosmet Dermatol. 2020; 19: 910– 912. https://doi.org/10.1111/jocd.13096
, , .• Lo, S.; Fauzi, M.B. Current Update of Collagen Nanomaterials—Fabrication, Characterisation and Its Applications: A Review. Pharmaceutics 2021, 13, 316. https://doi.org/10.3390/pharmaceutics13030316
•
Digestion of native collagen in the gut.• Zague, V. A new view concerning the effects of collagen hydrolysate intake on skin properties. Arch Dermatol Res 300, 479–483 (2008). https://doi.org/10.1007/s00403-008-0888-4
• Anderegg, Ulf, Halfter, Norbert, Schnabelrauch, Matthias and Hintze, Vera. "Collagen/glycosaminoglycan-based matrices for controlling skin cell responses" Biological Chemistry, vol. 402, no. 11, 2021, pp. 1325-1335. https://doi.org/10.1515/hsz-2021-0176
• Udompataikul, M., Sripiroj, P. and Palungwachira, P. (2009), An oral nutraceutical containing antioxidants, minerals and glycosaminoglycans improves skin roughness and fine wrinkles. International Journal of Cosmetic Science, 31: 427-435. https://doi.org/10.1111/j.1468-2494.2009.00513.x
• Guoyun Li, Shiguo Chen, Yuming Wang, Yong Xue, Yaoguang Chang, Zhaojie Li, Jingfeng Wang, Changhu Xue,
A novel glycosaminoglycan-like polysaccharide from abalone Haliotis discus hannai Ino: Purification, structure identification and anticoagulant activity, International Journal of Biological Macromolecules,Volume 49, Issue 5,2011,Pages 1160-1166,ISSN 0141 8130,https://doi.org/10.1016/j.ijbiomac.2011.09.017.
• Gong, F.; Chen, M.-F.; Zhang, Y.-Y.; Li, C.-Y.; Zhou, C.-X.; Hong, P.-Z.; Sun, S.-L.; Qian, Z.-J. A Novel Peptide from Abalone (Haliotis discus hannai) to Suppress Metastasis and Vasculogenic Mimicry of Tumor Cells and Enhance Anti-Tumor Effect In Vitro. Mar. Drugs 2019, 17, 244. https://doi.org/10.3390/md17040244