ทำความรู้จัก Collagen (คอลลาเจน) ทั้ง 5 ไทป์ ที่ร่างกายเราต้องการอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่ Collagen Type 2

เมื่อพูดถึง Collagen (คอลลาเจน) หลายๆ คนคงนึกถึงอาหารเสริม ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณ ความกระจ่างใส ตึงกระชับ หรือหากเป็นวัยทำงาน-วัยสูงอายุ คงคุ้นเคยกับ Collagen Type 2 ที่ช่วยเรื่องกระดูกและลดอาการข้อเสื่อม แต่จริงๆ แล้ว คอลลาเจน ไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหารเสริม แต่เป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย และมีถึง 5 ไทป์ ที่สำคัญ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Collagen (คอลลาเจน) ทั้ง 5 ไทป์ และประโยชน์ของไทป์ต่างๆ ที่มีต่อร่ายกายของมนุษย์

Collagen (คอลลาเจน) คืออะไร

Collagen (คอลลาเจน) คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีการรวมตัวของกรดอะมิโนหลายชนิด เป็นโปรตีนเส้นใย หรือพอลิเมอร์ชีวภาพ ที่พบมากที่สุด ในร่างกายมนุษย์เราจะมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบ ทั้งผิวหนัง หลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก กระดูกอ่อน ข้อต่อ เล็บ ขน และเส้นผม รวมถึงเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เซลล์ยึดเกาะกัน เพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย

ทำไมเราถึงขาดคอลลาเจนไม่ได้

Collagen (คอลลาเจน) เป็นโปรตีนที่มีสัดส่วนมากที่สุดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบหลักสำคัญที่มีมากถึง 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมด หรือมากกว่า 30% โดยน้ำหนักของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย เป็นเสมือนตัวที่ช่วยเชื่อมเซลล์แต่ละเซลล์เข้าไว้ด้วยกัน หรือกาวธรรมชาติ ที่เชื่อมภายในเซลล์ยึดให้ติดกัน จนทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ทำให้ผิวแข็งแรง มีความยืดหยุ่นและเต่งตึง ไม่เพียงแต่เรื่องผิว คอลลลาเจนยังช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรง เลือดไหลเวียนดี และช่วยเรื่องความแข็งแรงของกระดูกอ่อนและข้อต่อต่างๆ อีกด้วย

โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์สามารถสร้างคอลลาเจนขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการผลิตคอลลาเจนก็จะลดลง โดยในช่วงอายุ 20 ปี ร่างกายจะมีคอลลาเจนถึง 75% และจะค่อยๆ สูญเสียคอลลาเจนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 1-1.5% ทำให้ผิวที่เคยกระชับเกิดความหย่อนคล้อย เกิดริ้วรอย และหมองคล้ำ นอกจากอายุที่มากขึ้น ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนได้น้อยลง เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต การบริโภคอาหาร การโดนรังสีอุลตร้าไวโอเลต เป็นต้น ทำให้คนอายุน้อยก็มีโอกาสที่จะผลิตคอลลาเจนได้ลดน้อยลงเช่นเดียวกัน

No_collagen_problem

หากร่างกายขาด Collagen (คอลลาเจน) จะเกิดอะไรขึ้น?

  • เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง ดูมีอายุ
  • ผิวหนังหย่อนคล้อย เหี่ยวย่น ไม่ตึงกระชับ
  • กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ
  • โรคข้อเสื่อม เข่าเสื่อม
  • มีอาการปวดตามข้อต่อ

คอลลาเจนมีทั้งหมดกี่ไทป์ ช่วยในเรื่องอะไรบ้าง?

ปัจจุบันมีการค้นพบคอลลาเจนมากกว่า 29 ชนิด แต่คอลลาเจนที่พบมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ มี 5 ชนิด ดังนี้

1) Collagen type I หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 1

เป็นชนิดที่ร่างกายมีมากที่สุด พบมากถึง 90% ของคอลลาเจนทั้งหมดในร่างกาย ใช้ในการสร้างกระดูก เอ็นยึดกล้ามเนื้อ กระจกตา ผิวหนัง ผนังหลอดเลือด ช่วยป้องกันไม่ให้เนื่อเยื่อฉีดขาด ช่วยในเรื่องของการสมานแผล และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว ทำให้ผิวกระชับ ไม่หย่อนคล้อย การเพิ่มคอลลาเจนชนิดที่ 1 ยังช่วยให้จำนวนเซลล์ผิวมีการขยายตัว เกิดการสังเคราะห์เป็นเส้นใยอิลาสติน ทำให้ผิวหนังเรากระชับมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันคอลลาเจนชนิดที่ 1 นี้ยังเป็น biomarker ชั้นดีในการตรวจติดตามความเสี่ยงของภาวะการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้

2) Collagen type II หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 2

คอลลาเจนชนิดที่ 2 จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า คอลลาเจนชนิดที่ 1 และทำหน้าที่แตกต่างจากคอลลาเจนชนิดที่ 1 อย่างชัดเจน คือ มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นการให้เกิดการสังเคราะห์เซลล์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ช่วยในการสร้างกระดูกอ่อน จึงพบมากในกระดูก กระดูกอ่อน และข้อต่อ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวสะดวก ลดอัตราการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ เมื่อทำงานร่วมกันกับไกลโคสะมิโนไกลแคน จะช่วยชะลอการลุกลามของโรคข้อเสื่อมให้ช้าลง

3) Collagen type III หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 3

เป็นคอลลาเจนที่มักจะพบร่วมกับชนิดที่ 1 แต่มีอัตราส่วนที่น้อยกว่า โดยส่วนใหญ่มักจะพบในผนังหลอดเลือด ผิว กล้ามเนื้อ เฉพาะผิวเด็ก และผิวใหม่ หรือผิวที่เป็นแผลสร้างใหม่ เมื่อเพิ่มคอลลาเจนชนิดที่ 3 ร่วมกับคอลลาเจนชนิดที่ 1 หรือร่วมกับสารในกลุ่มเฮพาริน พบว่า จำนวนเซลล์ไฟโบรบลาสก์เพิ่มขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อมีปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ผิวยกกระชับ

4) Collagen type IV หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 4

เป็นคอลลาเจนที่มีลักษณะเฉพาะตัว พบได้เฉพาะบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อและไขมัน เส้นใยฝอยของเยื่อบุผิวแผ่นบางๆ บริเวณนอกเซลล์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและเส้นเลือด รวมถึงมีส่วนในการรักษาความสมบูรณ์ของผนังหลอดเลือดในข้อต่อ ทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการป้องกันเซลล์มะเร็งที่ลุกลามในร่างกายได้

5) Collagen type V หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 5

เป็นคอลลาเจนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อบุเซลล์ต่าง ๆ สามารถพบได้ในบริเวณเดียวกันกับคอลลาเจนชนิดที่ 1 มักพบในผิวของเซลล์ เส้นผม เนื้อเยื่อของทารกในระหว่างตั้งครรภ์ และรก ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเส้นใยภายในชั้นผิว และจัดระเบียบเซลล์ผิวให้เป็นระเบียบ

ทำไม Collagen Type 2 ถึงเป็นที่รู้จักกว่าไทป์อื่น ๆ 

เมื่อพูดถึง คอลลาเจน หลายๆ คนมักจะคุ้นเคยกับคำว่า Collagen Type 2 หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 2 เนื่องจาก คอลลาเจนชนิดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่พบมากในกระดูกข้อต่อ กระดูกอ่อน มีหน้าที่สร้างกระดูกอ่อน และกระตุ้นการสังเคราะห์เซลล์ใหม่ๆ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากร่างกายขาด Collagen Type 2  ไป จะเกิดอาการปวดข้อต่อ ข้อเข่า โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก เมื่อร่างกายผลิตคอลลาเจนได้น้อยลง และคอลลาเจนที่มีเสื่อมสลายไป ทำให้เกิดปัญหาข้อเสื่อม เกิดอาการปวด ซึ่งเป็นอาการของโรคไขข้อต่าง ๆ

ไม่เพียงแต่คนสูงอายุ แต่ Collagen Type 2 ยังสำคัญกับคนทุกวัย เพราะกิจกรรมในชีวิตประจำวัน มีทั้งการเดิน การขึ้นบันใด การนั่งออฟฟิศนานๆ การวิ่ง การขึ้นทางลาดชัน ซึ่งมีการใช้งานข้อต่อกระดูกอยู่เสมอ หากร่างกายขาด Collagen Type 2 ความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูกข้อต่อก็จะหายไป ส่งผลให้สุขภาพกระดูกอ่อนแอนั่นเอง Collagen Type 2 จึงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตั้งแต่หนุ่มสาวตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป วัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ ไปจนถึงผู้สูงอายุ การรับ Collagen Type 2 เพิ่มเติมจะส่งผลโดยตรงในการรักษาข้อบกพร่องของกระดูกอ่อน ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อบริเวณที่เสียหาย ลดอาการบาดเจ็บของกระดูกอ่อน

ทำไมคอลลาเจนทั้ง 5 ไทป์ถึงสำคัญ

ไม่เพียงแต่คอลลาเจนไทป์ 2 ที่มีความสำคัญกับร่างกายมนุษย์ แต่คอลลาเจนไทป์อื่นๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากคอลลาเจนทุกชนิดมีความสัมพันธ์ ตามกลไกต่างๆ ในร่างกาย โดยแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน และทำหน้าที่เสริมฤทธิ์กัน ด้วยคอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักที่สร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วร่างกาย ตั้งแต่ผม ขน ผิวหนัง จนเข้าสู่ภายในชั้นเซลล์ รวมถึงกระดูก กล้ามเนื้อ ผนังหลอดเลือด เส้นใยชั้นผิว และอีกมากมาย มีหน้าที่การทำงานในร่างกายที่แตกต่างกันไป และไม่ซ้ำกัน ทำให้ร่างกายเราไม่ควรที่จะขาดคอลลาเจนชนิดใดชนิดหนึ่งไปนั่นเอง

Collagen_source

คอลลาเจนทั้ง 5 ไทป์ หาได้ในแหล่งใดบ้าง

นอกจากร่างกายจะสามารถสร้างคอลลาเจนได้เองแล้ว เรายังสามารถเพิ่มคอลลาเจนได้ ด้วยวิธีดังนี้

1) รับประทานอาหารที่มีโปรตีน

เนื่องจากคอลลาเจนก็คือโปรตีนชนิดหนึ่ง การรับประทานอาหาร ที่มีโปรตีนจะช่วยเพิ่มคอลลาเจนในร่างกายได้ อาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ธัญพืชต่าง ๆ น้ำซุปเคี่ยวกระดูก เป็นต้น

2) ทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนในร่างกาย

อาหารที่ช่วยส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน และชะลอการสลายของคอลลาเจนได้ เช่น ผักสีเขียวเข้มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชื่อว่า ลูทีน (lutein) ผลไม้สีแดงและผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชื่อว่า ไลโคพีน (lycopene) ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีสารเจนีสทีน (genistein) เป็นต้น สารเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการผลิตคอลลาเจนในร่างกายได้

3) ทานอาหารเสริมคอลลาเจน

ปริมาณคอลลาเจนที่ร่างกายมนุษย์ต้องการใน 1 วัน คือ ไม่ต่ำกว่า 3,000 มิลลิกรัม การรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน จึงเข้ามาเป็นทางเลือกที่สะดวก และช่วยเสริมให้ร่างกายได้รับคอลลาเจนที่เพียงพอ ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์คอลลาเจน ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้โดยตรง

คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ

AOVA (เอโอว่า) คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ ใช้วิธีการสกัดที่ยังคงโครงสร้างและคุณสมบัติของคอลลาเจนครบถ้วน ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนในท้องตลาดที่มักจะใช้วิธีสกัดร้อนส่งผลให้คอลลาเจนเปลี่ยนสภาพ โดย AOVA (เอโอว่า) คอลลาเจนสกัดเย็น สามารถสกัดคอลลาเจนจากจากหอยเป๋าฮื้อ ได้ถึง 14 ชนิด บรรจุในขวดพร้อมดื่ม อร่อย ดื่มง่าย ไม่คาว เพราะใช้น้ำทับทิมเข้มข้น จากประเทศอิตาลี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีวิตามินซีจากน้ำทับทิมเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน  

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน AOVA (เอโอว่า) การันตีด้วยผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหลากหลายสถาบันชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ปีซ้อน

อ้างอิง

Rezvani Ghomi, E., Nourbakhsh, N., Akbari Kenari, M., Zare, M., & Ramakrishna, S. (2021). Collagen-based biomaterials for biomedical applications. Journal of Biomedical Materials Research Part B: Applied Biomaterials, 109( 12), 19861999. https://doi.org/10.1002/jbm.b.34881

• Andrew M Holwerda, Luc J C van Loon, The impact of collagen protein ingestion on musculoskeletal connective tissue remodeling: a narrative review, Nutrition Reviews, Volume 80, Issue 6, June 2022, Pages 1497–1514, https://doi.org/10.1093/nutrit/nuab083

Yoshiaki Shiojima, Hiroyoshi Moriyama, Megumi Takahashi, Ryohei Takahashi, Kazuo Maruyama, Manashi Bagchi, Debasis Bagchi. Novel ELISA technology in assessing undenatured type II collagen in functional foods and dietary supplements used for knee joint health care: its sensitivity, precision, and accuracy. Functional Foods in Health and Disease, Vol12, No.5 (2022),https://www.ffhdj.com/index.php/ffhd/article/view/933

• Ravassa, S., López, B., Ferreira, J.P., Girerd, N., Bozec, E., Pellicori, P., Mariottoni, B., Cosmi, F., Hazebroek, M., Verdonschot, J.A., Cuthbert, J., Petutschnigg, J., Moreno, M.U., Heymans, S., Staessen, J.A., Pieske, B., Edelmann, F., Clark, A.L., Cleland, J.G., Zannad, F., Díez, J., González, A. and (2022), Biomarker-based assessment of collagen cross-linking identifies patients at risk of heart failure more likely to benefit from spironolactone effects on left atrial remodelling. Insights from the HOMAGE clinical trial. Eur J Heart Fail, 24: 321-331. https://doi.org/10.1002/ejhf.2394

• Sifre, V.; Soler, C.; Segarra, S.; Redondo, J.I.; Doménech, L.; Ten-Esteve, A.; Vilalta, L.; Pardo-Marín, L.; Serra, C.I. Improved Joint Health Following Oral Administration of Glycosaminoglycans with Native Type II Collagen in a Rabbit Model of Osteoarthritis. Animals 202212, 1401. https://doi.org/10.3390/ani12111401

Michopoulou, AKoliakou, ETerzopoulou, Z, et al. Benefit of coupling heparin to crosslinked collagen I/III scaffolds for human dermal fibroblast subpopulations' tissue growthJ Biomed Mater Res20221104): 797811. doi:10.1002/jbm.a.37329

Tantawy, AAGElsherif, NHKMostafa, SSafwat, NAEl Seteha, KAESEndothelial specific isoform of type XVIII collagen (COL-18N): A marker of vascular integrity in haemophilic arthropathyHaemophilia202218https://doi.org/10.1111/hae.14593

• Fatherree JP, Guarin JR, McGinn RA, Naber SP, Oudin MJ. Chemotherapy-Induced Collagen IV Drives Cancer Cell Motility through Activation of Src and Focal Adhesion Kinase. Cancer Res. 2022 May 16;82(10):2031-2044. doi: 10.1158/0008-5472.CAN-21-1823. PMID: 35260882. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35260882/

Hélène Chanut-DelalandeChristelle Bonod-BidaudSylvain CogneMarilyne MalbouyresFrancesco RamirezAgnès Fichard, and Florence Ruggiero . Development of a Functional Skin Matrix Requires Deposition of Collagen V Heterotrimers. https://journals.asm.org/doi/epub/10.1128/MCB.24.13.6049-6057.2004

• Intini, C.; Hodgkinson, T.; Casey, S.M.; Gleeson, J.P.; O’Brien, F.J. Highly Porous Type II Collagen-Containing Scaffolds for Enhanced Cartilage Repair with Reduced Hypertrophic Cartilage Formation. Bioengineering 20229, 232. https://doi.org/10.3390/bioengineering9060232