อายุเพิ่มขึ้น Collagen (คอลลาเจน) ลดลงจริงไหม? แล้วทำไมคอลลาเจนถึงสำคัญกับเรา

เป็นที่รู้กันดีว่า Collagen (คอลลาเจน) เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย โดยร่างกายมนุษย์สามารถผลิต คอลลาเจน ได้เองตามธรรมชาติ มีส่วนช่วยทำให้ผิวตึงกระชับ แข็งแรง บำรุงกระดูกอ่อนและข้อต่อต่างๆ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เริ่มเกิดความหย่อนคล้อย ริ้วรอย และปวดข้อกระดูก นั่นหมายความว่า ร่างกายผลิตคอลลาเจนได้ลดลง จริงหรือไม่? แล้วทำไมคอลลาเจนถึงสำคัญ? เมื่อขาดคอลลาเจนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น? หาคำตอบได้ในบทความนี้

Collagen (คอลลาเจน) กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

Collagen (คอลลาเจน) เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นโปรตีนที่พบมากกว่า 30% โดยน้ำหนักของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย พบได้ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป เช่น พบในเลนส์ตา 75% ในกระดูกอ่อน 64% ในกระดูก 50% เป็นต้น และยังพบเป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย ทั้งผิวหนัง หลอดเลือด กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เล็บ ขน และเส้นผม

คอลลาเจน เป็นโปรตีนเส้นใย (fibrous protein) มีหน้าที่ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายยึดเกาะกัน โดยคำว่า Collagen มีรากศัพท์มาจากคำว่า Kolla ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า กาว คอลลาเจนจึงเปรียบเหมือนเป็นตัวที่ช่วยทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เชื่อมต่อกันนั่นเอง

อายุเพิ่มขึ้น Collagen (คอลลาเจน) ลดลงจริงไหม

โดยปกติ ร่างกายคนเราสามารถผลิตคอลลาเจนได้เองตามธรรมชาติ และจะมีการสลายตัวเพื่อรักษาความสมดุล แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นความสามารถในการผลิตคอลลาเจนจะลดน้อยลง แต่อัตราการสลายตัวยังมีเท่าเดิม จึงทำให้คอลลาเจนค่อยๆ ลดลง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

จากการศึกษา พบว่า เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เซลล์ไฟโบรบลาสต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนสองชนิด คือ คอลลาเจนและอิลาสติน จะทำงานน้อยลง ส่งผลให้การผลิตคอลลาเจนลดลงประมาณ 1-1.5% ต่อปี

Age_stage

คอลลาเจนกับช่วงอายุ

ความสามารถในการผลิตคอลลาเจนของมนุษย์จะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

  • ช่วงอายุ 20 ปีต้นๆ ผิวหนังของมนุษย์จะประกอบด้วยคอลลาเจนถึง 75%
  • เมื่ออายุ 25 ปี ขึ้นไป ความสามารถในการสร้างคอลลาเจนจะลง 1-1.5% และเมื่ออายุ30 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีริ้วรอยบางๆ ร่องแก้ม รอยย่นระหว่างคิ้ว เกิดฝ้า กระ รูขุมขนกว้าง
  • เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป ความสามารถในการสร้างคอลลาเจนจะลดลงถึง 30% ริ้วรอยชัดยิ่งขึ้น เกิดฝ้าลึก และร่องแก้มลึกเห็นได้ชัด
  • เมื่ออายุ 65 ปี ขึ้นไป คอลลาเจนจะเริ่มเสื่อมลงอย่างมาก โดยเฉพาะผู้หญิง พบว่าการสังเคราะห์คอลลาเจนลดลงอย่างมากหลังวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ส่งผลไปยังคอลลาเจนชนิดที่ 1, 2 และ 3 ส่งผลให้เกิดริ้วรอยแห่งวัยแล้ว ผิวหนังก็มีความแห้ง หยาบกร้าน เกิดความเสื่อมของผิวพรรณ รวมถึงส่งผลต่อมวลกระดูกที่เสื่อมถอยลงด้วย

อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการขาดคอลลาเจน

เพราะ Collagen (คอลลาเจน) คือโปรตีนหลักที่พบได้ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทุกชนิด มีหน้าที่ยึดเกาะเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เมื่อร่างกายขาดคอลลาเจน จะส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้

  • ผิวพรรณ – เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง เหี่ยวย่น หย่อนคล้อย ผิวจะบางลง ความยืดหยุ่นลดน้อยลง ไม่เต่งตึง มีความแห้งกร้าน ส่งผลต่อเปลือกตาหย่อนคล้อย เกิดถุงใต้ตา
  • กระดูก, ข้อต่อ – กระดูกอ่อนและกระดูกข้อต่อเสื่อมสภาพ กระดูกพรุน ทำให้เกิดอาการปวดเข่า ข้อเข่าไม่แข็งแรง ข้อเข่าเสื่อม น้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อลดลง
  • กล้ามเนื้อ – ไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อได้ ทำให้การทำงานลดลง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ส่งผลต่อมวลกล้ามเนื้อลดลง ทำให้กล้ามเนื้อลดประสิทธิภาพลง ไม่แข็งแรง
  • เส้นผม – รูขุมขนเกิดความผิดปกติ ขาดคอลลาเจนก็เหมือนขาดตัวควบคุมผิวหนัง ส่งผลให้ผมแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนเกิดอาการผมร่วง สุขภาพผมไม่ดี แตกปลายและเปราะง่าย
  • ฟัน – คอลลาเจนมีบทบาทสำคัญในการยึดฟันกับเหงือก รักษาความสมบูรณ์ของเนื้อฟันทำให้แข็งแรง และประคองฟันไว้ หากร่างกายขาดคอลลาเจน จะเริ่มมีปัญหากับฟัน เช่น ปวด เสียวฟัน และฟันผุ
  • หลอดเลือด – คอลลาเจนเป็นส่วนหนึ่งของหลอดเลือด หากร่างกายขาดคอลลาเจน จะทำความแข็งแรงของผนังหลอดเลือดลดลง ส่งผลต่ออวัยวะที่มีหลอดเลือดผ่าน อาจมีอาการตาแห้ง ปวดศีรษะ ปัญหาการหายใจ ผื่นที่ผิวหนัง และอื่นๆ
No_collagen_problem

คอลลาเจนไทป์ไหนที่ผู้สูงวัยควรได้รับ

Collagen (คอลลาเจน) ที่พบในร่างกาย มีมากกว่า 29 ชนิด โดยคอลลาเจนที่พบกระจายตัวตามแหล่งและโครงสร้างที่พบ ชนิดของคอลลาเจนที่พบมากที่สุด มี 5 ชนิด คือ

walking_oldman_collagen
  • Collagen type I พบมากที่สุดในร่างกาย เป็นองค์ประกอบในการการสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ ผนังหลอดเลือด กระจกตา เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ช่วยให้ผิวยืดหยุ่น และช่วยเรื่องสมานแผล
  • Collagen type II พบในกระดูกอ่อน ข้อต่อ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ของเซลล์ ลดการเสื่อมของกระดูกข้อต่อ
  • Collagen type III พบในผิว กล้ามเนื้อ และผนังหลอดเลือด 
  • Collagen type IV เป็นองค์ประกอบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อและไขมัน
  • Collagen type V เป็นองค์ประกอบของเยื่อบุเซลล์ต่าง ๆ

จากคอลลาเจนทั้ง 5 ชนิด จะเห็นว่า แต่ละชนิดมีหน้าที่ที่สำคัญต่อร่างกายแตกต่างกันไป แต่ที่เห็นได้ชัด คอลลาเจนที่จำเป็นสำหรับผู้สูงวัย คือ Collagen type II หรือ คอลลาเจนไทป์ 2 ที่มีความสำคัญกับกระดูกข้อต่อนั่นเอง

คอลลาเจน กับ ผู้สูงวัย

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ หลายๆ ท่านอาจมีอาการภาวะกระดูกเปราะ กระดูกบาง ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งสาเหตุเกิดจากร่างกายผลิตคอลลาเจนได้ลดลง ซึ่งจริงๆ แล้ว ในกระดูกของคนเรา ประกอบด้วยแคลเซียม 90% และคอลลาเจน 10% ทำหน้าที่ยึดเกาะแคลเซียมเข้าด้วยกัน เมื่อร่างกายขาดคอลลาเจน จะทำให้แคลเซียมไม่สามารถเกาะตัวกันได้ จึงเกิดเป็นโรคกระดูกพรุน และมวลกระดูกน้อยนั่นเอง

มีงานศึกษาวิจัยจาก University of Tuebingen ประเทศเยอรมนี สำรวจประชากรผู้ที่มีปัญหาจากโรคข้อเสื่อม จำนวน 2,000 คน เมื่อได้รับคอลลาเจน ในปริมาณ 5 กรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าคอลลาเจนสามารถช่วยลดการอักเสบและอาการเจ็บปวด จากการเคลื่อนไหวในบริเวณเซลล์กระดูกอ่อนได้ และยังมีผลทางอ้อมในการควบคุมความหนาแน่นของแร่ธาตุที่กระดูกอีกด้วย

นอกจากนี้การเสริมคอลลาเจน ยังช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนในร่างกาย ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกี่ยวข้องกับอายุ และเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย หรือก็คือคอลลาเจนเป็นสื่อกลางในการสร้างกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกของมนุษย์นั่นเอง

แหล่งคอลลาเจนที่ควรได้รับ

คอลลาเจนในร่างกาย สามารถมาได้จาก 3 แหล่ง คือ

  1. ร่างกายผลิตขึ้นมาเองตามธรรมชาติ แต่ความสามารถในการสังเคราะห์คอลลาเจนจะค่อยๆ ลดน้อยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
  2. ทานอาหารที่มีคอลลาเจน หรืออาหารที่ส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน เช่น อาหารที่มีโปรตีน เนื้อ นม ไข่ ถั่วเหลือง ปลาทะเล น้ำซุปเคี่ยวกระดูก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง ทับทิม กีวี เกร็ปฟรุต รวมถึงผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างผักและผลไม้ที่มีรงควัตถุสีต่างๆ ตามธรรมชาติ อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน เบต้าแคโรทีน เป็นต้น
  3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มคอลลาเจน ทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับคอลลาเจนในปริมาณที่เพียงพอ อำนวยความสะดวกให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย นำไปใช้ได้ไว แต่อย่างไรก็ตาม การทานอาหารเสริมคอลลาเจน ควรให้ความสำคัญกับคอลลาเจนหลากหลายชนิด เพื่อส่งเสริมการทำงานในร่างกายอย่างทั่วถึง

คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ มีคอลลาเจนถึง 14 ชนิด

AOVA (เอโอว่า) คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อที่ยังมีโครงสร้างและคุณสมบัติของคอลลาเจนครบถ้วน โดยคอลลาเจนที่สกัดได้จากหอยเป๋าฮื้อมีถึง 14 ชนิด ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนในท้องตลาดที่มักจะใช้วิธีสกัดร้อนส่งผลให้คอลลาเจนเปลี่ยนสภาพ

AOVA (เอโอว่า) บรรจุในขวดพร้อมดื่ม อร่อย ดื่มง่าย ไม่คาว เพราะใช้น้ำทับทิมเข้มข้น จากประเทศอิตาลี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีวิตามินซีจากน้ำทับทิมเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อและเปปไทด์จากหอยเป๋าฮื้อ AOVA (เอโอว่า) การันตีด้วยผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหลากหลายสถาบันชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ปีซ้อน

อ้างอิง

• Reilly DM, Lozano J. Skin collagen through the lifestages: importance for skin health and beauty. Plast Aesthet Res 2021;8:2. http://dx.doi.org/10.20517/2347-9264.2020.153

• รู้ลึกรู้ชัดกับคอลลาเจน โดย ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/sites/default/files/public/pdf/column/@Rama5_E09.pdf

• König D, Oesser S, Scharla S, Zdzieblik D, Gollhofer A. Specific Collagen Peptides Improve Bone Mineral Density and Bone Markers in Postmenopausal Women-A Randomized Controlled Study. Nutrients. 2018 Jan 16;10(1):97. doi: 10.3390/nu10010097. PMID: 29337906; PMCID: PMC5793325. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5793325/

• Pietro Affinito, Stefano Palomba, Claudia Sorrentino, Costantino Di Carlo, Giuseppe Bifulco, Maria Paola Arienzo, Carmine Nappi,
Effects of postmenopausal hypoestrogenism on skin collagen, Maturitas, Volume 33, Issue 3, 1999, Pages 239-247, ISSN 0378-5122,
https://doi.org/10.1016/S0378-5122(99)00077-8.

• Camil Castelo-Branco, Francesca Pons, Eduard Gratacós, Albert Fortuny, Juan Antonio Vanrell, Jesús González-Merlo,
Relationship between skin collagen and bone changes during aging, Maturitas, Volume 18, Issue 3, 1994, Pages 199-206, ISSN 0378-5122,
https://doi.org/10.1016/0378-5122(94)90126-0.

• Bianchi FM, Angelinetta C, Rizzi G, Praticò A, Villa R. Evaluation of the Efficacy of a Hydrolyzed Collagen Supplement for Improving Skin Moisturization, Smoothness, and Wrinkles. J Clin Aesthet Dermatol. 2022 Mar;15(3):48-52. PMID: 35342502; PMCID: PMC8944283. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8944283/

• Role of collagen in the body https://nutritiondaily.in/blogs/news/role-of-collagen-in-the-body

• Peiwen Chen, Matilde Cescon, Paolo Bonaldo. Lack of Collagen VI Promotes Wound-Induced Hair Growth ., Journal of investigative dermatology, Volume 135, Issue 10, P2358-2367, https://doi.org/10.1038/jid.2015.187

• Afsaneh Rangiani, Yan Jing, Yinshi Ren, Sumit Yadav, Reginald Taylor, Jian Q. Feng, Critical roles of periostin in the process of orthodontic tooth movement, European Journal of Orthodontics, Volume 38, Issue 4, August 2016, Pages 373–378, https://doi.org/10.1093/ejo/cjv071

• Themis R. Kyriakides, Yu-Hong Zhu, Lynne T. Smith, Steven D. Bain, Zhantao Yang, Ming T. Lin, Keith G. Danielson, Renato V. Iozzo, Mary LaMarca, Cindy E. McKinney, Edward I. Ginns, Paul Bornstein; Mice That Lack Thrombospondin 2 Display Connective Tissue Abnormalities That Are Associated with Disordered Collagen Fibrillogenesis, an Increased Vascular Density, and a Bleeding Diathesis . J Cell Biol 26 January 1998; 140 (2): 419–430. doi: https://doi.org/10.1083/jcb.140.2.419

• Deane, C.S.; Bass, J.J.; Crossland, H.; Phillips, B.E.; Atherton, P.J. Animal, Plant, Collagen and Blended Dietary Proteins: Effects on Musculoskeletal Outcomes. Nutrients 202012, 2670. https://doi.org/10.3390/nu12092670

• Zdzieblik, D., Oesser, S., Baumstark, M., Gollhofer, A., & König, D. (2015). Collagen peptide supplementation in combination with resistance training improves body composition and increases muscle strength in elderly sarcopenic men: A randomised controlled trial. British Journal of Nutrition, 114(8), 1237-1245. doi:10.1017/S0007114515002810