รู้จัก ไกลโคสะมิโนไกลแคน (GAGs) สารประกอบเพื่อไขข้อที่มั่นใจได้มากกว่า กลูโคซามีน (Glucosamine)

อาการปวดข้อ บวมแดง เดินติดขัด อาจเกิดจาก โรคข้ออักเสบ ซึ่งมีอาการที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ และเกิดได้จากหลายสาเหตุ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคข้ออักเสบ สามารถทำได้ด้วยการบำรุงสุขภาพข้อต่อ ข้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยสารสำคัญที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง คือ กลูโคซามีน (Glucosamine) ที่มีการใช้กันอย่างมาก แต่ด้วยประเทศไทย กลูโคซามีนถูกขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย หากมีการใช้เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม จะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการดูแลจากแพทย์เท่านั้น ในปัจจุบัน จึงมีสารที่มีประโยชน์ต่อข้อเข่าโดยตรง นั่นก็คือ ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs

โรคข้ออักเสบ คืออะไร

knee02

โรคข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นการเสื่อมสภาพของข้อ โดยจะมีอาการปวดเมื่อย บวมแดง เคลื่อนไหวลำบาก กดเจ็บในบริเวณข้อต่อ หากมีอาการแล้วละเลยหรือปล่อยไว้ไม่รักษา อาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดการติดเชื้อ อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคข้ออักเสบ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส เกิดจากการเสื่อมสภาพของข้อต่อตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากข้อต่อเกิดการสะสมของผลึกกรดยูริก เป็นต้น นอกจากนี้ โรคข้ออักเสบ ยังเกิดขึ้นได้จาก โรครูมาตอยด์ และโรคเก๊าท์ อีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว โรคข้ออักเสบ มีมากกว่าร้อยรูปแบบ และเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุด คือ ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ เกิดความเสียหายของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่คล้ายตัวกันกระแทกที่บริเวณปลายของกระดูก เมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพลง กระดูกก็จะเกิดการบดและเสียดสีกัน จนทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และอาจก่อให้เกิดการจำกัดของการเคลื่อนไหว เมื่อเวลาผ่านไปอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บของข้อต่อ และการติดเชื้อได้

เมื่อพูดถึงโรคข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม ในทางการแพทย์ จะมียาที่มีสารสำคัญชื่อว่า กลูโคซามีน (Glucosamine) ใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับไขข้อและกระดูก ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง บำรุงข้อ เสริมผิวกระดูกอ่อน ป้องกันเข่าและข้อเสื่อม แต่นอกจาก กลูโคซามีน (Glucosamine) ยังมีสารที่สำคัญ และดีกว่า นั่นก็คือ ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs

รู้จัก GAGs คืออะไร ทำไมถึงช่วยเรื่องไขข้อได้

GAGs หรือ Glycosaminoglycans (ไกลโคสะมิโนไกลแคน) หรือ Mucopolysaccharides เป็นอนุพันธ์โปรติโอไกลแคนธรรมชาติที่เชื่อมระหว่างโปรตีนในรูปกรดอะมิโนมากกว่า 100 ตัว จับกับคาร์โบไฮเดรตในสายโพลิแซคคาไรด์ จับกันด้วยพันธะโควาเลนต์ จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นโพลิแซคคาไรด์เชิงเส้นยาวที่ประกอบด้วยหน่วยไดแซคคาไรด์ซ้ำ (เช่น หน่วยน้ำตาล 2 หน่วย) ซ้ำ 2 หน่วยน้ำตาลประกอบด้วยน้ำตาลยูโรนิก (uronic sugar) และน้ำตาลอะมิโน (amino sugar) เนื่องจาก GAGs มีขั้วสูงและดึงดูดน้ำ จึงถูกใช้ในร่างกายเป็นสารหล่อลื่นหรือ mucopolysaccharidoses เป็นกลุ่มของความผิดปกติของการเผาผลาญซึ่งการสะสมของไกลโคสะมิโนไกลแคนที่ผิดปกติเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดเอนไซม์

แล้วสารสำคัญในกลุ่ม GAGs มีความเกี่ยวข้องกับไขข้อ หรือช่วยเรื่องข้ออักเสบอย่างไร? นั่นเป็นเพราะ GAGs หรือ Proteoglycans เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ทำหน้าที่สร้างกระดูก กระดูกอ่อน การสร้างเซลล์ประสาท โดยกลุ่ม GAGs ที่ทำหน้าที่เหล่านี้ จะอยู่ในรูป กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) และคอนดรอยตินซัลเฟต (Chondroitin sulfate) GAGs ยังถูกพบในน้ำเลี้ยงข้อกระดูก ทำหน้าที่เป็นสารที่ช่วยชะลอการเสื่อมของข้อต่อในร่างกายและลดการเสียดสีของกระดูก ยังมีหน้าที่ในการสร้าง osmotic pressure มีผลในการดึงน้ำเข้าสู่เนื้อเยื่อ และทำให้ collagen matrix ขยายตัว ซึ่งในลักษณะการขยายตัวของเส้นใย collagen นี้ ทำให้กระดูกอ่อนมีลักษณะที่ยืดหยุ่น มีความสามารถในการต้านทานต่อแรงกดกระแทก หากเกิดการเปลี่ยนแปลงในปริมาณหรือโครงสร้างของ proteoglycan หรือ glycosaminoglycan ก็จะมีผลกระทบถึงความสามารถในการรับแรงกดของกระดูกอ่อนด้วย

นอกจากนี้ GAGs ยังมีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการสร้าง คอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับกระดูก โดยเฉพาะคอลลาเจน ชนิดที่ 2 (Collagen type 2) ที่มักพบในเซลล์กระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกสันหลัง ช่วยซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณที่มีการสึกหรอ และช่วยให้ข้อต่อสามารถทนต่อแรงกดทับได้ ตลอดจน GAGs ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับผิว ส่งผลต่อความยืดหยุ่น กระชับ คอยค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ผิว GAGs สามารถลดการทำงานของ Matrix metalloproteinases (MMPs) จะส่งผลให้การเสื่อมสลายของคอลลาเจนลดลง ช่วยให้ผิวคงความยืดหยุ่น โครงสร้างผิวแข็งแรง ทนต่อสิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองได้ดีขึ้น และทำให้ผิวแลดูมีสุขภาพดีขึ้นด้วย

GAGs สร้างมาจากอะไร

Glycosaminoglycans (ไกลโคสะมิโนไกลแคน) หรือ GAGs เป็นโซ่คาร์โบไฮเดรตยาวที่พบในเซลล์จำนวนมากในร่างกายมนุษย์ สร้างขึ้นจากหน่วยไดแซ็กคาไรด์ที่ทำซ้ำโดยมีการกำหนดค่าหลักที่มีน้ำตาลอะมิโน (GlcNAc หรือ GalNAc) และกรดยูริก (กรดกลูโคโรนิกและ/หรือกรดอิดูโรนิก) ประกอบด้วยสายยาวพอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่แตกแขนง ประเภทเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ (Heteropolysaccharide) โดยมีหน่วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ซ้ำๆ เรียงตัวกันหลายหน่วย ซึ่งในวงการศึกษาและการวิจัยจะเป็นที่รู้จักในชื่อมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ (Mucopolysaccharide) มีส่วนสำคัญในทางชีววิทยาและสรีรวิทยาเช่น ฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์บางประเภท ต้านการแข็งตัวของเลือด  ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวหนังชั้นนอก ปรับโครงสร้างแก่ผิวหนัง และเร่งการเจริญเติบโตของเส้นผม สารทั้งหมดมีอยู่ในร่างกายมนุษย์ตั้งแต่แรกและเป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการใช้งานมักไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือผลข้างเคียง

Glycosaminoglycans พบได้ในของเหลวนอกเซลล์และช่วยในการสร้างเมทริกซ์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมของภูมิคุ้มกัน สร้างความแตกต่างของเนื้อเยื่อ เป็นสารประกอบที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง มีลักษณะเหมือนการเชื่อมโยงลูกโซ่ซ้ำ เป็นหมู่ซัลเฟตหรือไม่มีหมู่ซัลเฟต มีความสามารถในการกักเก็บสูงและให้สารระหร่างเซลล์อยู่ในรูปของเจล

GAGs มีหน้าที่อะไรบ้างในร่างกาย

GAGs พบได้ใน ground substance ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผิวหนัง กระดูก กระดูกอ่อน โดย GAGs จะรวมกับโปรตีนเป็น Proteoglycan (โปรติโอไกลแคน) ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวโปรตีนต่างๆ ในร่างกาย เช่น คอลลาเจน (collagen) อิลาสติน (elastin) และโปรตีน ของเซลล์ ทำให้เนื้อเยื่อมีความยืดหยุ่นและแข็งแรง แทรกตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์

หากดูจากโครงสร้างของทางเคมีของ GAGs ที่มี hydrophilic groups หรือ สารประกอบอินทรีย์ส่วนที่ชอบน้ำ เช่น –OH, -NH2, -COO- , -SO3H- ในโมเลกุลมาก ซึ่งจะแตกตัวให้ประจุลบที่ pH7.0 ที่สภาวะร่างกาย GAGs ทำให้มีประจุลบอยู่เป็นจำนวนมาก GAGs จึงมีคุณสมบัติ อุ้มน้ำได้มาก และทำหน้าที่หล่อลื่นเนื้อเยื่อต่างๆ  มีส่วนช่วยทำให้เนื้อเยื่อมีความยืดหยุ่นและเต่งตึง GAGs มีลักษณะนิ่มคล้ายวุ้นและชุ่มน้ำ เหมาะสำหรับการทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระแทกหรือเป็นกันชนของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น กระดูกอ่อนของข้อ เป็นต้น

รู้จักประเภทของ GAGs

ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) GAGs หรือมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ (Mucopolysaccharide) สามารถแบ่งเป็น 6 กลุ่มใหญ่ ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วร่างกาย ได้แก่

1. คอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate)

เป็นที่รู้จักในอดีตสำหรับการใช้ทางคลินิกในฐานะยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม บรรเทาอาการปวดตามอาการ ตลอดจนผลในการปรับโครงสร้างในโรคข้อเข่าเสื่อม ช่วยค้ำจุนในการต้านทานต่อการดึงของกระดูกอ่อนและเป็นองค์ประกอบของกระจกตา จัดเป็นพอลิเมอร์ของหน่วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ (กรดกลูโคโรนิกและ N-acetylgalactosamine) ที่มีหมู่ซัลเฟตมาเกาะที่ตำแหน่งคาร์บอนที่ 4 หรือที่ 6 ของน้ำตาล N-acetylgalactosamine

2. เคอราแทน ซัลเฟต (Keratan Sulfate)

ประกอบด้วยน้ำตาลกาแลกโทส และ N-acetylgalactosamine ไม่มีกรดกลูโคโรนิก เป็นส่วนประกอบและมีปริมาณซัลเฟตไม่แน่นอน  มีบทบาทสำคัญทั้งในกระจกตาและระบบประสาท โดยกระจกตาจะประกอบด้วยแหล่งเคอราแทน ซัลเฟต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความชุ่มชื้นของกระจกตา

3. เดอมาแทน ซัลเฟต (Dermatan Sulfate)

จัดเป็นพอลิเมอร์ของหน่วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ จำพวกกรดไอดูโรนิกและ N-acetylgalactosamine ที่มีหมู่ซัลเฟตมาเกาะที่ตำแหน่งคาร์บอนที่ 4 ของน้ำตาล N-acetylgalactosamine พบมากในผิวหนังเป็นหลัก แต่ยังพบในหลอดเลือด ลิ้นหัวใจ เส้นเอ็น ปอด มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมบาดแผล และมีฤทธิ์ต้านการ แข็งตัวของเลือด

4. เฮพาริน (Heparin)

ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างตัวรับและลิแกนด์ ในเมทริกซ์นอกเซลล์ มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณปัจจัยการเจริญเติบโตของเซลล์ และยังมีความสามารถ ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งซีรีนโปรตีเอสของปัจจัยการแข็งตัวของเลือด มีฤทธิ์ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง และปอด ใช้แพร่หลายในวงการแพทย์ เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (ยาละลายลิ่มเลือด) ที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือดนั่นเอง เฮพารินจัดเป็นพอลิเมอร์ของหน่วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ จำพวกกรดไอดูโรนิกและ N-acetylglucosamine ที่มีหมู่ซัลเฟตมาเกาะที่น้ำตาลทั้งสอง ประจุลบของเฮพารินจะจับและกระตุ้นโปรตีน Antithrombin III ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด

5. เฮพาแรน ซัลเฟต (Heparan Sulfate)

มีโครงสร้างคล้ายกับเฮพาริน แต่มีจำนวนซัลเฟตน้อยกว่าเฮพาริน ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมทางชีวภาพที่หลากหลาย รวมถึงกระบวนการพัฒนา การสร้างเส้นเลือดใหม่ การตรวจจับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ควบคุมการยึดเกาะของเซลล์  จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน

6. กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid)

เรียกสั้นๆ ว่า HA ประกอบด้วยหน่วยของน้ำตาลโมเลกุลคู่ จำพวกกรดกลูโคโรนิกและ N-acetylglucosamine เชื่อมต่อกันมากกว่า 50,000 หน่วยของน้ำตาลโมเลกุลคู่ HA เมื่ออยู่ในสารละลายที่มี pH เท่ากับสิ่งมีชีวิต จะมีลักษณะใส หนืด มีหน้าที่ช่วยให้ความชุ่มชื้น และเป็นองค์ประกอบของน้ำไขข้อซึ่งหล่อเลี้ยงข้อต่อในร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการหล่อลื่นข้อต่อไขข้อและกระบวนการสมานแผล พบได้ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ดวงตา หรือน้ำในไขข้อ เป็นต้น นิยมใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิด มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความกระชับของผิว และเติมความยืดหยุ่นให้กับผิว

GAGs และ Glucosamine แตกต่างกันอย่างไร

กลูโคซามีน (Glucosamine)

เป็นสารประกอบของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง โปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) และไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) ซึ่งมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์สารสำคัญในกระดูกอ่อนผิวข้อ

ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans)

หรือ GAGs เป็นหน่วยที่เล็กกว่ากลูโคซามีน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่จำเป็นต่อร่างกาย ไกลโคสะมิโนไกลแคนเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันภายในร่างกาย และยังสนับสนุนการสร้าง คอลลาเจนและอีลาสติน ช่วยควบคุมสภาวะสมดุลของเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณที่มีการสึกหรอ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ข้อต่อ บรรเทาอาการปวด และการอักเสบของข้อ อาการปวดข้อเข่า

ข้อควรระวังเมื่อใช้ กลูโคซามีน (Glucosamine)

ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดประเภทกลูโคซามีนสังเคราะห์ มาใช้เป็น 2 รูปแบบ คือ ยาอันตราย และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย จะต้องจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ใช้รับประทานเป็นอาหารเสริม ส่วนในประเทศไทยยังจัดกลูโคซามีนเป็นยาอันตราย ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยากลูโคซามีน เกลือซัลเฟต และต้องผ่านการรับรองและดูแลจากแพทย์เท่านั้น โดยมีรูปแบบเป็นแคปซูลและเป็นชนิดผงละลายน้ำ ปริมาณที่ใช้เป็น 1,500 มิลลิกรัม และทานก่อนอาหารเพื่อให้การดูดซึมยาได้ดีขึ้น

โดยทั้งยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลูโคซามีนที่มีจำหน่าย อาจมาในรูปแบบของสารประกอบเกลือหลายชนิด เช่น เกลือซัลเฟต (Glucosamine Sulfate), เกลือไฮโดรคลอไรด์ (Glucosamine Hydrochloride), เกลือคลอโรไฮเดรต (Glucosamine Chlorohydrate หรือ N-acetylglucosamine) ส่งผลให้ขนาดโมเลกุลและคุณสมบัติอื่นๆ ของกลูโคซามีนมีความแตกต่างกัน ซึ่งประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อม ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้ง รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งของข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ รวมถึงระยะเวลาในการใช้

นอกจากนี้ กลูโคซามีน (Glucosamine) ในทุกรูปแบบ มีข้อควรระวังและผลข้างเคียง (side effects) อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดท้อง ไม่สบายท้อง ท้องอืดคลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก แสบท้อง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น สำหรับอาการแพ้ยาแบบ hypersensitivity reactions มีรายงานบ้าง เช่น ผื่นคัน และผื่นแดงที่ผิวหนัง สำหรับอาการปวดศีรษะ การมองเห็นภาพที่ผิดปกติ รวมไปถึงผมร่วง พบได้น้อยมาก และเนื่องจากกลูโคซามีนที่มีจำหน่าย สังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ทะเล  โดยเฉพาะกุ้ง และปู อาจส่งผลต่อผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล

ปัจจุบัน สารสกัดที่มีกลุ่มไกลโคสะมิโนไกลแคน หรือ GAGs หรือกลุ่มไกลโคโปรตีน เป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจาก GAGs มีหน้าที่ทั้งเป็นส่วนประกอบของการสร้างกระดูกอ่อน และยังสนับสนุนการสร้าง คอลลาเจน ที่มีความเกี่ยวพันกับกระดูกโดยเฉพาะ จากการศึกษา พบว่า GAGs ทำหน้าที่ร่วมกับคอลลาเจน ชนิดที่ 2 ช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น และเพิ่มระดับกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) รวมถึงยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำหล่อเลี้ยงข้อ มีความสามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณที่มีการสึกหรอ บรรเทาอาการปวด และการอักเสบของข้อ ได้ดีกว่ากลูโคซามีน

AOVA คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ ที่มี GAGs

AOVA (เอโอว่า) คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดดื่มที่มีคอลลาเจนทางเลือกใหม่ บรรจุในขวดพร้อมดื่ม อร่อย ดื่มง่าย ไม่คาว มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเอ็นกระดูกอ่อน จากการศึกษาพบว่า หอยเป๋าฮื้อเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเป็นแหล่งของ ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือ GAGs ทางธรรมชาติ ทดแทนสารสังเคราะห์ที่พบตามท้องตลาด มีฤทธิ์ต้านการตกตะกอนและต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ต่อต้านอนุมูลอิสระ  และต้านการอักเสบ พร้อมทั้งยังมีวิตามินซีจากน้ำทับทิมเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทำงานตามปกติของกระดูก กระดูกอ่อน เหงือก ผิวหนัง และฟัน ทั้งยังมีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

การันตีด้วยผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหลากหลายสถาบันชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ปีซ้อน ในปี 2551 ด้านระบบการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อครบวงจร และในปี 2553 รางวัล 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม

อ้างอิง:

โรคข้อและข้อสันหลังอักเสบ, โรงพยาบาลกรุงเทพ https://www.bangkokhospital.com/content/arthritis-and-spinal-arthritis

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/41/กลูโคซามีน-glucosamine-ในโรคข้อเสื่อม-ไขข้อข้องใจ/

ข้อเข่าเสื่อม ทานกลูโคซามีนดีไหม? https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4647

DISORDERS OF CARBOHYDRATE METABOLISM https://www.si.mahidol.ac.th/department/biochemistry/home/MD/biochemistry_tutorial/Biochemistry_of_disease.pdf

Biochemistry, Glycosaminoglycans https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK544295/

ไกลโคสะมิโนไกลแคน https://hmong.in.th/wiki/Mucopolysaccharides

ความเสื่อมของกระดูก ข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ http://ortho2.md.chula.ac.th/phocadownload/data-sheet/degenerative-Aging-diseases-bone-PrakitMD.pdf

บทบาทของ Polysulfated glycosaminoglycan และ Hyaluronic acid ในการรักษาโรคข้อเสื่อมในม้า https://vet.kku.ac.th/journal/jy1_17/5_1/6%20p35-39.pdf

Glycosaminoglycans https://www.jaslynsense.com/ข้อมูลสารสำคัญต่างๆ/glycosaminoglycans-skincare/

กลูโคซามิโนไกลแคนที่มีซัลเฟต ไกลโคซามิโนไกลแคนคืออะไร?ความสำคัญทางชีวภาพ บทบาทในร่างกายมนุษย์ https://bazovo.ru/th/anatomiya-i-fiziologiya/sulfatirovannye-glikozaminoglikany-chto-takoe-glikozaminoglikany/

Using glucosamine food supplement in canine osteoarthritis https://www.vet.cmu.ac.th/cmvj/document/journal/3_25543.pdf

คาร์โบไฮเดรตตัวโต https://il.mahidol.ac.th/e-media/biomolecule/chapter2_4.html

Anti-coagulant and anti-thrombotic properties of blacklip abalone (Haliotis rubra): in vitro and animal studies https://www.mdpi.com/1660-3397/15/8/240/htm

A novel glycosaminoglycan-like polysaccharide from abalone Haliotis discus hannai Ino: purification, structure identification and anticoagulant activity https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0141813011003655

In vitro anti-thrombotic activity of extracts from blacklip abalone (Haliotis rubra) processing waste https://www.mdpi.com/1660-3397/15/1/8