เจาะลึก “หอยเป๋าฮื้อ” ราชินีแห่งคอลลาเจน ทุกเรื่องของหอยเป๋าฮื้อ บทความนี้มีคำตอบ

เป็นที่รู้กันดีว่า หอยเป๋าฮื้อ เป็นหอยที่มีราคาสูง มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ทั้งมีส่วนช่วยบำรุงประสาทและสมอง รวมถึงช่วยบำรุงกระดูก ข้อต่อ จึงนิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ หอยเป๋าฮื้อ ยังมีคอลลาเจนที่มีคุณภาพสูง จนได้ชื่อ “ราชินีแห่งคอลลาเจน” หากสกัดอย่างถูกต้องจะได้คอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อที่คงโครงสร้างและคุณสมบัติของคอลลาเจนครบถ้วน! ก่อนจะไปดูวิธีการสกัด ลองมาทำความรู้จักหอยเป๋าฮื้อแบบเจาะลึกกันก่อน

ทำความรู้จัก หอยเป๋าฮื้อ คืออะไร เจาะลึกถึงสายพันธุ์

abalone_zoom

หอยเป๋าฮื้อ (abalone) หรือชื่ออื่นๆ เช่น หอยร้อยรู หอยโข่งทะเล จัดเป็นหอยฝาเดียวชนิดหนึ่งเป็นหอยที่มีราคาสูง จนได้ชื่อว่าเป็นหอยจักรพรรดิ นิยมบริโภคในโอกาสสำคัญเนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นอาหารสิริมงคล และมีสรรพคุณทางยา มีวิตามินและแร่ธาตุ อุดมไปด้วยกรดอะมิโนทั้งหมด 19 ชนิด และยังมีคอลลาเจนที่มีคุณภาพสูง

หอยเป๋าฮื้อ หน้าตาอาจไม่เหมือนหอยที่เราคุ้นเคย เพราะเป็นหอยฝาเดียว มีลักษณะมีเปลือกเพียงครึ่งเดียว รูปร่างค่อนข้างแบน รูปทรงยาวรี มักอาศัยตามซอกหินและแนวปะการังที่ระดับน้ำลึกประมาณ 10 เมตร เนื้อหอยเป๋าฮื้อมีรสชาติดี ไม่คาว และมีปริมาณคอเลสเตอรอลต่ำ

หอยเป๋าฮื้อ มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่พบในโลกมีถึงประมาณ 75 ชนิด แต่มีจำนวนไม่ถึง 22 ชนิดที่มีการเพาะเลี้ยงได้ สายพันธุ์หอยเป๋าฮื้อที่นิยมรับประทาน เช่น  หอยเป๋าฮื้อ สายพันธุ์ฮาลิโอติส ไดเวอร์สิดัลเลอร์ (Haliotis diversicolor) เป็นหอยเป๋าฮื้อสายพันธุ์น้ำอุ่น จากญี่ปุ่นและไต้หวัน รสชาติดี มีขนาดเหมาะสมในการนำมาปรุงอาหาร เลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนต่อโรค และเป็นความต้องการของตลาด นับว่าเป็นชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลกเลยทีเดียว เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง และไต้หวัน

เรื่องเล่าขาน ตำนานหอยเป๋าฮื้อ

หอยเป๋าฮื้อ ถูกกล่าวขานว่าเป็นอาหารระดับฮ่องเต้ มีเฉพาะพระเจ้าจักรพรรดิและขุนนางชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ที่มีโอกาสได้ลิ้มรสชาติที่ดีของหอยเป๋าฮื้อ ต่อมาเป็นที่นิยมของคนชั้นสูงทั้งในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี เพราะหอยเป๋าฮื้อ นับว่าเป็นอาหารสิริมงคลที่มีคุณค่า มีราคาสูง  และอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ

ตามความเชื่อทางประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น ในสมัยเอโดะ หอยเป๋าฮื้อถูกส่งไปบรรณาการให้แก่จักรพรรดิจีนและขุนนางชั้นสูง และเป็นสินค้าส่งออกชั้นสูงที่มีราคาแพงจากญี่ปุ่น ถือเป็นของที่มีคุณค่า จึงนิยมใช้มอบเป็นของขวัญแสดงความยินดีในวาระต่างๆ โดยทำการห่อหอยเป๋าฮื้อในกระดาษที่สวยงาม และมอบเป็นหอยเป๋าฮื้อแห้งเรียกว่า "โนชิอาวาบิ" (Noshi Awabi) และกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังให้นิยามหอยเป๋าฮื้อ ว่า "Emperor Of Shellfish" หรือ หอยจักรพรรดิ์ เพราะเป็นหอยที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินและโปรตีนอย่างครบถ้วน ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความกระฉับกระเฉง บำรุงตับ และระบบหมุนเวียนของเลือด โดยชาวเกาหลีนิยมบริโภคหอยเป๋าฮื้อโดยทำเป็นโจ๊กหอยเป๋าฮื้อ (Jun Bok Jook)

abalone_dish

การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ฟาร์มหอยเป๋าฮื้อ

หอยเป๋าฮื้อ เป็นหอยที่มีราคาสูง เนื่องจากอัตราการรอดตายในธรรมชาติน้อย และสายพันธุ์ของหอยเป๋าฮื้อ มีจำนวนไม่ถึง 22 ชนิดที่มีการเพาะเลี้ยงได้ จึงมีการเลี้ยงหอยชนิดนี้ในเชิงพาณิชย์ขึ้น ในอดีต การเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อเริ่มเกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2493 ในประเทศญี่ปุ่นและจีน ส่วนประเทศไทย เริ่มมีการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยบริษัท ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม จำกัด นับว่าเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย

จากการศึกษาพัฒนาการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรของบริษัท ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม จำกัด ได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์หอยเป๋าฮื้อที่เหมาะสมในประเทศไทย คือ Haliotis diversicolor ซึ่งเป็นสายพันธุ์หอยเป๋าฮื้อของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน จุดเด่นคือ ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลในประเทศไทยได้ดี มีอัตราการเจริญเติบโตและการแลกเปลี่ยนเนื้อสูง สามารถผลิตและส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

บริษัท ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม จำกัด มีการพัฒนาและควบคุมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียนในระบบปิดที่มีความทันสมัย ควบคุมคุณภาพฟาร์มด้วยระบบ GAP (Good Aquaculture Practices) ที่ได้รับการรับรองจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถเลี้ยงหอยให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ  ได้รับการยอมรับจนได้รับรางวัล ชนะเลิศด้านเศรษฐกิจ "ระบบการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อแบบครบวงจร" จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2551

ทำไมหอยเป๋าฮื้อถึงเป็นที่นิยม

เป็นที่รู้กันดีแล้วว่า หอยเป๋าฮื้อ อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีสรรพคุณทางยาช่วยบำรุงร่างกาย แต่ยังมีอีกหนึ่งสรรพคุณที่โดดเด่นและเป็นที่พูดถึงมาก นั่นก็คือ คุณสมบัติพิเศษในการช่วยบำรุงกระดูก ข้อต่อ กระดูกอ่อน และช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

จากการศึกษาของ The National Registration Authority for Agricultural and Veterinary Chemicals (NRA) ของรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย ได้ประเมินว่า เนื้อหอยเป๋าฮื้อชนิดผง มีสารสำคัญที่ชื่อว่า ไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) หรือที่เรียกกันว่า GAGs ทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นให้แก่ข้อ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันและลดอุบัติการณ์โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ซึ่งมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป

ความจริงของ “คอลลาเจน” ในหอยเป๋าฮื้อ

ตามที่ได้กล่าวถึงสรรพคุณของหอยเป๋าฮื้อไปแล้ว ว่าในหอยเป๋าฮื้อนั้น อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมากถึง 17 ชนิด และยังมีคอลลาเจนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์

คอลลาเจน คือ โปรตีนธรรมชาติในร่างกาย เป็นโปรตีนเส้นใย หรือพอลิเมอร์ชีวภาพที่เป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน พบมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ ถูกพบเป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย ทั้งผิวหนัง หลอดเลือด กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เล็บ ขน และเส้นผม ทำหน้าที่เสมือนโครงสร้าง ทำให้เซลล์ต่างๆ ยึดเกาะกัน เพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และคอลลาเจนยังพบในผิวหนังชั้นหนังแท้ ถึง 75% เปรียบเสมือนสปริงของผิว ที่ช่วยสร้างความตึงให้กับชั้นผิวหนังเสริมความเรียบเนียน

โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์คอลลาเจนได้เองตามธรรมชาติ โดยมีเซลล์ชื่อ ไฟโบรบลาสต์ เป็นตัวสร้างคอลลาเจน แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หรือ ย่างเข้า 30 ปี เซลล์ไฟโบรบลาสต์จะทำงานน้อยลง ส่งผลให้การผลิตคอลลาเจนลดลงประมาณ 1-1.5% ต่อปี เป็นที่มาของความเหี่ยวย่น ริ้วรอยแห่งวัยนั่นเอง

ซึ่งความพิเศษของหอยเป๋าฮื้อ คือ หอยเป๋าฮื้อ สามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ช่วยสร้างคอลลาเจนได้ และ หอยเป๋าฮื้อยัง มีคอลลาเจนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลัก ไกลซีน (Glycine: Gly) โพรลีน (Proline: Pro) และไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline: Hyp) เมื่อนำคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ เข้าสู่ร่างกาย สามารถฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอ  โดยเฉพาะเซลล์ไฟโบรบลาสต์ได้อีกด้วย

ทำอย่างไรให้ได้คอลลาเจนที่ดีที่สุดจากหอยเป๋าฮื้อ

ปัจจุบัน มีการนำหอยเป๋าฮื้อมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มคอลลาเจน ซึ่งการสกัดคอลลาเจนที่ดีที่สุดจากหอยเป๋าฮื้อ คือการใช้วิธีการสกัดเย็น แทนการสกัดร้อน ซึ่งการสกัดเย็น จะช่วยให้คอลลาเจนที่ได้ยังคงสภาพโครงสร้างและคุณสมบัติไว้อย่างครบถ้วน แตกต่างจากการสกัดร้อน ที่จะส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและคุณสมบัติของคอลลาเจน ด้วยเพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีนธรรมชาติ ที่สูญเสียสภาพได้จากความร้อน

และจากการวิจัยด้านโภชนาการ พบว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเสริมและเติมคอลลาเจนที่บกพร่องให้คืนกลับสู่ร่างกายได้ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน สกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ เป็นที่นิยมอย่างมาก

Lab AOVA

AOVA คอลลาเจนหอยเป๋าฮื้อสกัดเย็นอันทรงคุณค่า

AOVA (เอโอว่า) คอลลาเจนสกัดเย็นจากหอยเป๋าฮื้อ ใช้วิธีการสกัดที่ยังคงโครงสร้างและคุณสมบัติของคอลลาเจนครบถ้วน ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนในท้องตลาดที่มักจะใช้วิธีสกัดร้อนส่งผลให้คอลลาเจนเปลี่ยนสภาพ โดย AOVA (เอโอว่า) คอลลาเจนสกัดเย็น สามารถสกัดคอลลาเจนจากหอยเป๋าฮื้อ ได้ถึง 14 ชนิด บรรจุในขวดพร้อมดื่ม อร่อย ดื่มง่าย ไม่คาว เพราะใช้น้ำทับทิมเข้มข้น จากประเทศอิตาลี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีวิตามินซีจากน้ำทับทิมเข้มข้นที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน AOVA (เอโอว่า) การันตีด้วยผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหลากหลายสถาบันชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ปีซ้อน

อ้างอิง:

จันทิรา ปัญญา. ความงามและสุขภาพ (2): แอลอีดีชะลอความแก่  https://d.dailynews.co.th/article/272058/

นลิน วงศ์ขัตติยะ และปิยะนุช เนียมทรัพย. https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MzYxNjE3

ประวิทย์ ตันติสุวิทย์กุล. 2549. มิติใหม่ของการนำ Collagen มาใช้ประโยชน์. https://www.beyondsoho.com/article/มาทำความรู้จัก-มิติใหม่ของคอลลาเจน-collagen-โดย-ภก-ประวิทย์-ตันติสุวิทย์กุล

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0727/collagen-คอลลาเจน

รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์ และพรพิมพา เพชรพงไพศาล. 2553. บทบาทของวิตามินซีต่อการเสริมสร้างคอลลาเจน. https://www.scimath.org/article-chemistry/item/614-vitaminc2